วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

Good Story

มีเรื่องที่อ่านแล้ว เห็นว่า น่าจะมีประโยชน์ บ้างมาให้อ่านกันคะ

"Butterfly Story"

ในระหว่างทานข้าวกลางวัน วนิดาซึ่งเป็น CEO ถามกิตติผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งที่รายงานตรงต่อเธอว่า “ กิตติ พี่สังเกตว่าคุณไม่เคยปิดมือถือเลย แม้กระทั่งเวลาประชุม แล้วพี่ก็เห็นคุณขอตัวออกไปจากที่ประชุมกลางคันเพื่อรับโทรศัพท์ พี่อยากรู้ว่าเป็นโทรศัพท์ของใครหรือ ทำไมมันสำคัญขนาดรอจนจบประชุมไม่ได้ พี่เห็นเป็นประจำเลยนะ ” กิตติมีท่าทีอึดอัด เขาตอบว่า “ ไม่มีอะไรหรอกครับ เรื่องส่วนตัวนะครับ ผมขอโทษ ” วนิดายิ้มแบบผู้ใหญ่ใจดี เธอเงียบไปสักครู่จึงพูดต่อ “ กิตติ เราสองคนทำงานด้วยกันมาพอสมควร คิดว่าพี่เป็นพี่สาวของคุณก็ละกัน เพราะพี่อายุมากกว่าคุณสองสามปี มีอะไรก็เล่าสู่กันฟังซิคะ เผื่อว่าพี่อาจจะแนะนำอะไรให้ได้บ้าง ” วนิดาเลือกใช้แนวทางพี่น้อง แทนที่เธอจะตำหนิเขาโดยตรง ในเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในที่ประชุมแบบเจ้านายกับลูกน้อง วิธีนี้ได้ผล! กิตติสารภาพออกมาแบบกระอักกระอ่วน “ ก็...คือว่า...พี่อย่าโกรธผมนะครับ มันเป็นโทรศัพท์มาจากลูกสาวผมเอง เธอเพิ่งไปเรียนไฮสคูลที่ออสเตรเลียเมื่อไม่กี่เดือน โรงเรียนที่ลูกสาวผมเรียนนี้ค่อนข้างจะเข้มงวด แถมมีการบ้านจมเลย ตอนลูกสาวผมเรียนที่นี่ ผมช่วยติวและทำการบ้านร่วมกับเธอบ่อยๆ ลูกคนเดียวเธอคือดวงใจของผมเลยครับ ผมบอกเธอว่าไปอยู่นั่น ติดขัดเรื่องการบ้านละก็โทรมาหาผมได้ทุกเมื่อไม่ว่าจะเป็นเวลาใด ผมจะคอยช่วยเหลือเธอผมไม่ต้องการเห็นเธอล้มเหลว ตอนค่ำเมื่อกลับบ้านผมก็แทบจะไม่ได้พักผ่อน แต่จะไปช่วยเธอทำการบ้านแล้วก็แฟ็กซ์ส่งไปเรื่องคณิตศาสตร์บ้าง ภาษาอังกฤษบ้าง ผมอยากให้เธอประสบความสำเร็จ ผมต้องขอโทษที่บริหารเวลาไม่ค่อยได้เรื่อง ” กิตติจบเรื่องลงด้วยท่าทีละอายใจ วนิดาแสดงความเห็นใจ “ เรื่องของคุณมันฟังแล้วคุ้นๆมากเลย พี่พอจะจินตนาการออก ถึงความลำบากใจของเธอ พี่เองก็มีลูกสาวเรียนปริญญาโทอยู่ที่อเมริกา พี่เคยทำแบบคุณเหมือนกัน เพราะลูกสาวพี่จบตรี แล้วไปต่อโทเลย จึงไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ดังนั้นพอทำกรณีศึกษาก็มักจะ ไม่ทันเพื่อนเขา หรือไม่เข้าใจ แถมยังไม่กล้าถามอาจารย์อีก พี่เลยต้องช่วยทำเคส แล้วก็อีเมล์ไปให้เธอ แต่ว่าตอนนี้พี่หยุดช่วยเธอแบบนั้นแล้วล่ะค่ะ ” กิตติถามด้วยความประหลาดใจ “ ทำไมล่ะครับ พี่ไม่รักเธอแล้วหรือ หรือว่าพี่เห็นว่างานมีความสำคัญกว่าครอบครัวครับ ”

วนิดาตอบพร้อมกับยิ้มอย่างอารมณ์ดีว่า “ พี่ยังรักลูก และเห็นคุณค่าของครอบครัวและงานเหมือนเดิม พี่โชคดีที่มีเพื่อนชาวอเมริกันคนหนึ่ง เขาสังเกตเห็นวิธีที่พี่ช่วยลูกสาว แล้ววันหนึ่งเขาก็ให้หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The Power of Failure โดย Charles C. Manz และมีการแปลเป็นไทยในชื่อ วิกฤติคือโอกาส โดยพสุมดี กุลมา เรียบเรียงโดย นราธิป นัยนา เพื่อนอเมริกันเขาคั่นเรื่องๆหนึ่งให้พี่อ่านโดยเฉพาะเลย พี่จะเล่าให้เธอฟัง

”........ มีชายคนหนึ่งนั่งมองผีเสื้อที่กำลังดิ้นรนจะออกจากรังไหม เจ้าผีเสื้อดิ้นรนไปซักพัก จนกระทั่งใยรังไหมเริ่มขาดเป็นรูเล็กๆ ชายคนนั้นมองด้วยความสนใจ เจ้าผีเสื้อดูเหมือนจะหยุดไป ที่จริงผีเสื้อมันพักเพื่อที่จะดิ้นรนต่อไป แต่ว่าชายคนนั้นคิดไปเองว่าผีเสื้อคงติดใยรังไหม ไม่สามารถจะออกมาได้ด้วยตนเอง ด้วยความหวังดี เขาจึงนำกรรไกรขนาดเล็กมาตัดใยรังไหมนั้น ทำให้รูมันขยายใหญ่ขึ้น เจ้าผีเสื้อเห็นรูขยายใหญ่ขึ้นมันก็คลานต้วมเตี้ยมออกมา แต่เขาสังเกตว่าตัวมันมีขนาดเล็กกว่าปกติ ปีกเหี่ยวย่น แถมลำตัวของเจ้าผีเสื้อก็มีลักษณะบวมผิดปกติ กลายเป็นว่าในขณะที่ผีเสื้อต้องดิ้นรนออกแรงตะเกียกตะกาย เพื่อพยายามจะดันตัวมันออกจากรังไหมนั้น เป็นกระบวนการธรรมชาติที่จะกระตุ้นให้ของเหลวชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในลำตัวผีเสื้อเคลื่อนที่มาสู่ปีก เพื่อทำให้ปีกแข็งแรงเพียงพอจะบินได้ ด้วยความปรารถนาดีของชายคนนั้น ผีเสื้อตัวนี้ปีกจึงเหี่ยวย่นไม่แข็งแรงเพียงพอจะบินได้ แถมยังมีรูปร่างพิกลพิการ เพราะของเหลวที่ควรจะอยู่ที่ปีก ดันไปติดคั่งค้างอยู่ที่ลำตัว เจ้าผีเสื้อตัวนี้ออกจากใยมาได้ด้วยความสบาย แต่ต้องพิกลพิการ และบินไม่ได้ไปชั่วชีวิตของมัน ....."

อุปสรรคและความล้มเหลวในชีวิตของคน ก็คล้ายๆกันกับสิ่งที่เจ้าผีเสื้อเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ ความก้าวหน้าในชีวิต การพัฒนาทักษะ ความกล้าหาญ ความมุ่งมั่น ล้วนแล้วแต่น่าสงสารและน่าเห็นใจ แต่จะได้คุณค่ามาก็ด้วยการล้มเหลวอย่างถูกวิธี

เราจะคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต โดยไม่มีความล้มเหลวนั้นเป็นไปไม่ได้ เมื่อเราเผชิญอุปสรรค แล้วเราหลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขหรือต่อสู้กับมัน เท่ากับว่าเรากำลังเสียโอกาสสำคัญในการเรียนรู้บทเรียนที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในชีวิตของคน

กิตติฟังด้วยความสนใจ “ โอ้โฮ เรื่องนี้จุดประกายน่าดูครับ แต่ผมกลัวว่าลูกผมจะเกลียดผมนะซีครับ ” วนิดาเสริมต่อ “ มีคำพูดที่ว่า 'No pain No gain' "ไม่เจ็บ ไม่ได้เรียนรู้" ที่จริงพวกเรานะผิดเองที่ป้อนลูกๆ เรามากไป สำหรับกรณีของพี่ พี่อธิบายให้ลูกเขาเข้าใจด้วยการเล่าเรื่องนี้แหละ หลังจากนั้น พี่ก็ขอโทษสำหรับการให้ความช่วยเหลือลูกแบบผิดๆในอดีต ลูกๆ ของเราเขาฉลาดพอจะเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้นะ ... กิตติ คุณลองมองไปรอบๆตัวเราสิ เรามีพนักงานที่มีความรู้ มาจากครอบครัวที่มีฐานะ หลายคนที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ พวกเขาไม่อดทนต่อปัญหาและอุปสรรค คนที่ควรถูกตำหนิคือ พ่อแม่ของเขา คุณอยากถูกคนอื่นเขาต่อว่าแบบนี้ในอนาคตไหมล่ะ แถมลูกๆ ของเรายังอ่อนแอไม่สามารถจะฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคได้ .....คุณมีสิทธิ์เลือกนะ … ”

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

ความต่างของNTFS และ FAT

NTFS (New Technology File System) เป็นระบบการจัดการไฟล์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบ ปฏิบัติการ Windows NT โดยเฉพาะ เพราะสามารถกำหนดสิทธิ์ (Permission) การเข้าถึงข้อมูลให้กับผู้ใช้งานแต่ละคน ว่าให้ใครเข้าถึงข้อมูลไฟล์ไหนได้บ้าง แล้วสามารถอ่านได้อย่างเดียวหรือ แก้ไขได้ด้วย

สามารถจัดช่องเก็บข้อมูล(Cluster)ได้พอดีกับไฟล์ทำให้ใช้ HDD ได้สูงสุด

Windows ที่รองรับ NTFS ได้ก็คือตั้งแต่ Windows 2000 ขึ้นไป(win98 ไม่สนับสนุน)
คือ ถ้าเราเอา HDD ที่เป็นระบบNTFSไปต่อกับเครื่องที่เป็น Win98 มันจะเห็นเป็น NtfsDosPro
ทำอะไรไม่ได้เลย -*-

อีกอย่างก็คือ NTFS สามารถย้ายไฟล์ออกจาก Bad sector ของ HDD ได้ด้วยซึ่ง FAT ทำไม่ได้

Bad sector คือ ส่วนที่เสียของHDD ที่เราเคยได้ยินว่าห้ามปิดเครื่องโดยไม่ shutdown ส่วนหนึ่งก็เพราะ ป้องกันการเกิด Bad sector ของ HDD เพราะถ้าเราปิดเครื่องโดยไม่ shutdown หัวอ่านของHDD จะตกไปกระแทกผิวHDD ทำให้เกิดรอยบนHDD (เหมือนCDอะถ้ามีรอยก็เสีย) ถ้าเป็นระบบFAT ไฟล์ที่อยู่ตรงนั้นจะเสียไปเลย
(เคยทำHDDเสียไป๑ตัวก็เพราะแบบนี้ละ --")

ดังนั้น จะเลือก FAT หรือ NTFS ก็ดูดีๆนะ(ถ้า External เป็น NTFS แล้วไปใช้กะ win98 ละก็ ซวยเลย)

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

น่ารัก น่ารัก: หุ่นยนต์เต้นNobody


.................................................................
น่าจะมีสัก ๕ ตัว จะครบเซ็ทเลย อิอิ

ความแตกต่างของระบบ Fat16 และ Fat32

วันนี้ พอดีมา Format flash drive เนื่องจากไวรัสมันทำให้เปิด Flash ไม่ได้
ตอน format มีอยู่ช่องหนึ่งเขียนว่า File System: มีสองระบบให้เลือกคือ Fat16 และ Fat32

เลยสงสัยครับว่า ต่างกันอย่างไร เลยหาในเน็ตก็เลยได้มาว่า....

Fat (File Allocation Table) เป็นระบบจะดการไฟล์ใน HDD
ซึ่งหมายถึงIndex ของ
ช่องเก็บข้อมูล(Cluster) ระบบจะระบุไปเลยว่า
ไฟล์นี้เก็บที่ช่องไหน

แล้วเวลาจะใช้ก็ไปดึงไฟล์มาจากช่องนั้นๆ


ในการที่ไฟล์ๆ ๑ จะลงไปในช่องเ็ก็บนั้นถ้าไฟล์มีขนาดเล็กกว่าชอ่งนั้นๆ
ก็จะจองพื้นที่ทั้งช่อง แต่ถ้าใหญ่กว่าช่องนั้นๆ ก็จะกินไปหลายช่อง
เช่น..... สมมติว่าช่องมีขนาด ๓๒ KB แต่ไฟล์เรามีขนาด ๔ KB
เราก็จะเสียพื้นที่ไป ๒๘KB ฟรีๆ (น่าหงุดหงิดเนอะ-*-)

ทีนี้ ข้อแตกต่างของ Fat16 กับ Fat32 ต่างกันเช่นไร

Fat 16 จะสามารถซอยห้องได้ั 65536 ห้อง

fat 32 จะสามารถซอยห้องได้ั 4,294,967,296 ห้อง
โดยที่ห้องหนึ่งจะมีขนาดอยู่ในช่วง ๔ ถึง ๓๒ KB

ทีนี้ Fat 16 มีข้อจำกัดเรื่องห้องกว่า Fat32 ห้องที่ออกมาจึงต้องมีขนาดใหญ่
กว่า fat32 ดังนั้นข้อเสียก็ คืิอ
ถ้ามีไฟล์ขนาด 99 KB

เอาไป Save บน FAT16 มันจะใช้ 4 Cluster คือ 32+32+32+3
ซึ่งช่องสุดท้าย มันจะใช้พื้นที่เพียง 3 KB
จากที่มี 32 KB (ทิ้งเปล่าประโยชน์ 29 KB)

แต่..ถ้าเอาไป Save บน FAT32
มันก็จะใช้ 4 KB x 24 Cluster กับ 3 KB ใน 1 Cluster จากที่มี 4 KB (ทิ้งเปล่าประโยชน์แค่ 1 KB)

อ้างอิงจาก http://www.com-th.net/faq/hdd/?0020
.......................................................
แต่...ณ ปัจจุบันนี้ ระบบ Fat ก็แทบไม่คนใช้แล้วละ
เพราะคนส่วนมากเริ่มมาใช้ NTFS กันแล้ว..
เอาไว้สัปดาห์หน้าจะมาพูดถึง NTFS แล้วกันนะ ^^

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

สัตว์สายพันธุ์ใหม่เวลาถูกฆ่าจะไม่รับรู้ความเจ็บปวด

บริโภค"ผีดิบ"

อ่านข่าวชิ้นนี้ในเว็บไซต์นิตยสารวิทยาศาสตร์ "นิวไซเอิน ทิสต์" แล้วเกิดขนลุกซู่ขึ้นทันที

เพราะข่าวบอกว่า คนในชุมชนนักคิด-นักวิจัยบางส่วนในสหรัฐอเมริกา กำลังเสนอทางออกครั้งใหม่เพื่อลดการทารุณกรรม "สัตว์" ตามฟาร์มต่างๆ เช่น วัว ไก่ สุกร ที่ถูกฆ่านำมาแปรรูปเป็นอาหารเลี้ยงมนุษย์..

นั่นคือ ขอให้มีการตัดต่อพันธุกรรม สร้าง "สัตว์สายพันธุ์ใหม่" ซึ่งไม่สามารถรับรู้ถึงความเจ็บปวดใดๆ ทั้งสิ้น!

"อดัม ชริเวอร์" อาจารย์มหาวิทยาลัยวอชิงตัน หนึ่งในกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของสหรัฐ ผู้นำเสนอความคิดนี้เขียนในรายงาน ว่า

"ถ้าเรายังปรับปรุงคุณภาพของฟาร์มในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ไม่ได้..

"อย่างน้อยที่สุดเราก็น่าจะช่วยให้สัตว์เหล่านี้เผชิญความเจ็บปวดน้อยที่สุด..

"ผมนำเสนอแนวคิดสร้างสัตว์ตัดต่อพันธุกรรมที่ปราศจากความเจ็บปวดก็เพื่อให้ท่านยังคงบริโภคเนื้อสัตว์ต่อไปได้ โดยที่ไม่ทำให้พวกมันต้องทนทุกข์"

ปัจจุบัน คนทั่วโลกบริโภคเนื้อสัตว์สูงถึงเกือบ 300 ล้านตันต่อปี

ส่งผลให้อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์เลิกคำนึงถึงคำว่า "ฆ่าอย่างมีเมตตา" วิธีการวางยาแก้ปวดหรือทำให้สัตว์สลบก่อนลงมีดเชือด-แล่อวัยวะแทบไม่มีให้เห็น

และจัดให้สัตว์ในฟาร์ม หรือในโรงงานอยู่กันชนิดแออัดยัดเยียด ผิดสุขลักษณะ เสี่ยงต่อโรคระบาด พอเกิดโรคระบาดก็ได้แต่สังหารหมู่สัตว์เหล่านี้นับล้านๆ ตัว

ชริเวอร์มองว่า องค์ความรู้ของมนุษย์ก้าวหน้ามาถึงขั้นตัดต่อ-ถอดเอา "ยีน" ที่รับรู้ความเจ็บปวดออกจากสิ่งมีชีวิต และมีผลการทดลองหลายชิ้นพิสูจน์ว่าทำได้จริง

ฉะนั้นจะดีกว่าไหม-ดูมีมนุษยธรรมกว่าหรือไม่ ถ้าสังคมโลกจะลองขบคิดดูถึงความเหมาะสมของข้อเสนอของตน?

อย่างไรก็ตาม มีนักวิทยาศาสตร์-นักคิดในสหรัฐหลายคนออกมาโต้แย้งด้วยเหตุผลต่างๆ กัน อาทิ ถ้าทำให้สัตว์ไม่รู้จักเจ็บ เวลามันป่วยขึ้นมาก็ยากจะตรวจสอบพบแต่เนิ่นๆ ทั้งยังไม่มีอะไรรับประกันว่าจะปลอดภัยต่อผู้บริโภค ฯลฯ

ถ้าสงสารสัตว์ร่วมโลกจริงๆ มาช่วยรณรงค์ให้คนเห็นข้อดีของการทานมังสวิรัติจะง่ายกว่าไหม เพราะยิ่งไปทำให้สัตว์กลายเป็น "ผีดิบ" ไม่เจ็บไม่ปวดจะได้หาข้ออ้างฆ่ามันอย่างสบายใจนั้นจะบาปหนักขึ้นไปอีกรึเปล่า!?!

"จักรยาน"โตตามวัย




บริษัท "กิโลดีไซน์" ประเทศเยอรมนี เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในการออกแบบนวัตกรรมใหม่

ล่าสุด ลงมือคิดค้นต้นแบบจักรยานอัจฉริยะ รุ่น "กิโลไบก์" ซึ่งชิ้นส่วนต่างๆ ยืดขยายได้ตามลักษณะทางกายภาพ หรือโครงสร้างร่าง กายที่เปลี่ยนไปของเด็กๆ

โดยอายุ เฉลี่ยของคุณหนูๆ ที่ขี่จักร ยานรุ่นนี้ได้เริ่มต้นที่ 6 ขวบ

เมื่อโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถถอดข้อต่อเบาะนั่ง แฮนด์ ระยะบันได ให้ยืดยาวตามพัฒนาการร่างกายลูกน้อยไปจนถึงอายุประมาณ 12 ปี

ช่วยให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทองซื้อจักรยานคันใหม่ทุกๆ ปี

ปลูกพืชบน ดาวแดง

ชาติมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีอวกาศ เช่น สหรัฐ อเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรป ล้วนมีความฝันอยากส่ง "มนุษย์" ไปตั้งรกรากบนดาวอังคารให้ได้สักวันหนึ่ง

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนเราดำรงชีพอยู่บนดาวแดง หรือดาวอังคาร ก็คือ "อาหาร"

ล่าสุด นายมาร์ติน มิกลิกา นักออกแบบและนักประดิษฐ์ชาวเช็ก จึงนำเสนอตัวอย่าง "ระบบปลูกพืชผักบนดาวอังคาร" ที่ตั้งชื่อเพราะพริ้งว่า "เดอะ พรินซ์" หรือ "เจ้าชาย"

ความสามารถของหุ่นยนต์อัตโนมัติรุ่นนี้ ได้แก่ มีเกราะแก้วคอยห่อหุ้มเมล็ดพันธุ์พืชให้เจริญเติบโตได้เหมือนบนพื้นโลก พร้อมกับเคลื่อนที่ไปเสาะแสวง หาผืนดินที่มีแร่ธาตุเหมาะสมกับการปลูกพืช เพื่อเจาะและดูดสารอาหารมาเลี้ยงพืชข้างใน

เมื่อพบจุดดังกล่าวเรียบร้อยแล้วยังสามารถส่งสัญญาณแจ้งให้หุ่นยนต์ตัวอื่นๆ แห่มาปักหลักในพื้นที่เดียวกันได้ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

หุ่นยนต์ฉลาด...ปรับตัวเองได้เมื่อเสียหาย

ปกติเมื่อเครื่องจักรกลหนึ่งๆ ได้รับความเสียหาย ก็มีแนวโน้มว่ามันจะไม่สามารถใช้งานหรือทำงานต่อได้เลย ที่ผ่านมานักวิจัยจึงพยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้เครื่องจักรที่เสียหายสามารถปรับตัวเองเพื่อทำงานต่อไปได้
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ นิวยอร์ก สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการสร้างหุ่นยนต์ฉลาดที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง และยังปรับตัวทำงานต่อได้ด้วยเมื่อเกิดความเสียหาย...

หุ่นยนต์ที่ว่านี้มีลักษณะคล้ายปลาดาว 4 แฉก มันสามารถเดินได้ด้วยแฉกหรือขาทั้งสี่ของมัน โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นตัววิเคราะห์และควบคุมการเคลื่อนไหว แม้ภายนอกจะดูเหมือนหุ่นยนต์ทั่วไป แต่ความฉลาดของหุ่นยนต์ตัวนี้มีเหนือกว่ามาก เพราะการวิเคราะห์แก้ปัญหาของหุ่นยนต์ตัวนี้ไม่ได้ทำแบบตายตัวตามชุดคำสั่งที่มีอยู่ทั่วไป แต่หุ่นยนต์ตัวนี้มีชุดคำสั่งสำหรับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่าหุ่นยนต์ทั่วไปเอาไว้ ทำให้มันรู้จักเรียนรู้และลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง โดยคอมพิวเตอร์จะวิเคราะห์หาวิธีแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อปรับตัวให้มันเคลื่อนไหวทำงานต่อไปได้ ทั้งนี้ตอนแรกมันจะเรียนรู้วิธีการเดิน จากนั้นเมื่อมันได้รับความเสียหาย เช่น เสียขาไปข้างหนึ่ง มันก็จะเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกและหาวิธีทำให้ตัวเองกลับมาเดินได้ใหม่

ปัจจุบันการศึกษาวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ฉลาดที่สามารถปรับตัวเองได้ในลักษณะนี้ มีอยู่ในห้องปฏิบัติการหลายๆแห่ง โดยนักวิจัยหวังว่าหุ่นยนต์ฉลาดที่สามารถปรับตัวเองได้จะสามารถนำไปใช้กับงานที่ต้องจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนต่างๆ ได้ เช่น การทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัย การสำรวจอวกาศ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

สร้างหุ่นยนต์เดินด้วยขา....ช่วยคนพิการ

>>>>>เป็นบทความAIที่น่าสนใจมากๆเลยลองอ่านกันดูนะ

โครงการสมองไหลกลับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดการบรรยายพิเศษในหัวข้อ Walking Machine Technology: Towards Versatile, Adaptive, Autonomous Systems โดย ดร.ปรเมษฐ์ มนูญพงศ์ นักวิชาการไทยที่มีชื่อเสียงด้านหุ่นยนต์เดินด้วยขา จากประเทศเยอรมนี

สิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุดคือ มนุษย์ รวมไปถึงสัตว์และแมลงต่างๆ ดังนั้น การที่จะสร้างหุ่นยนต์เดินด้วยขาที่มีความเฉลียวฉลาด หรือมีการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรนำหลักการทำงานของสิ่งมีชีวิตมาประยุกต์ใช้ ซึ่งตัวอย่างของหุ่นยนต์ ๖ ขา ที่พัฒนาขึ้นนี้ ได้ศึกษาโครงสร้างและหน้าที่การทำงานในส่วนต่างๆ (Biomechanic) ของแมลงสาบ เพื่อนำมาออกแบบตัวหุ่นยนต์ให้มีลักษณะคล้ายแมลงสาบ นอกจากหุ่นยนต์คล้ายสัตว์แล้ว ทีมวิจัยยังได้พัฒนาหุ่นยนต์ ๒ ขา ที่เรียกว่า “รันบอท (Runbot)” เป็นหุ่นยนต์ ๒ มิติ มีคานรองรับด้านข้าง ประกอบด้วยมอเตอร์ควบคุม ๕ ตัว ได้แก่ มอเตอร์ควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนบน ๑ ตัว มอเตอร์ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของสะโพก ๒ ตัว และมอเตอร์ควบคุมการแกว่งของหัวเข่าอีก ๒ ตัว ส่วนเท้ามีการออกแบบให้เป็นส่วนโค้ง ยังมีเซ็นเซอร์วัดความหน่วง เซ็นเซอร์ตรวจจับพื้นเอียงเพื่อสร้างให้เกิดการเรียนรู้ในการเดินบนพื้นที่ต่างระดับด้วย ส่วนระบบควบคุมจะใช้โครงข่ายประสาทเทียมโดยเป็นการสร้างสัญญาณผ่านเซ็นเซอร์ เพื่อกระตุ้นการทำงานของข้อต่อต่างๆ และใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับองศาของหัวเข่า เป็นต้น โดยขณะนี้รันบอทเป็นหุ่นยนต์ ๒ ขา ที่เดินเร็วที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับขนาดตัว โดยเดินได้ที่ความเร็ว ๘๐ เซนติเมตรต่อวินาที และมีจุดเด่นเมื่อเทียบกับหุ่นยนต์อาซิโม คือ เวลาก้าวเดินขามีลักษณะเหยียดตรงคล้ายคน ใช้พลังงานน้อย ระบบควบคุมไม่ซับซ้อน ขณะที่หุ่นยนต์อาซิโมเวลาก้าวเดิน เท้าจะงอขนานกับพื้น และมอเตอร์ต้องทำงานตลอดเวลาใช้พลังงานมาก

ประโยชน์ของการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เดินด้วยขา จะนำมาช่วยพัฒนางานวิจัยและการศึกษาในประเทศไทยในอนาคตได้ ๓ ส่วน ด้วยกันคือ การนำองค์ความรู้พื้นฐานการเดินของคนมาใช้พัฒนาขาเทียมที่มีความเฉลียวฉลาดที่ไม่เพียงแค่เดินเท่านั้น แต่ยังสามารถวิ่งและเล่นกีฬาสำหรับคนพิการได้ด้วยโดยเสียค่าใช้จ่ายในราคาที่เหมาะสม นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เดินด้วยขาคล้ายสัตว์ นำมาใช้เป็นต้นแบบในการเรียนการสอนให้กับนักเรียนที่สนใจศึกษาด้านหุ่นยนต์ รวมถึงชีววิทยาเพื่อดูกลไกการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต และ สร้างศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายประสาท เพื่อปูพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจการทำงานของระบบประสาทในสิ่งมีชีวิตในรูปแบบที่ง่ายมากขึ้น

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอนาคต

ปัจจุบันนี้ ใครที่ได้อ่านข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์คงจะเคยทราบว่าอินเตอร์เน็ตจะมีบทบาทต่อสังคมมากขึ้นในอนาคต เด็กนักเรียนจะสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ดี ๆ จากทั่วโลกได้ด้วยการใช้อินเตอร์เน็ต การผ่าตัดสามารถทำได้ผ่านโลกไซเบอร์สเปซ การติดต่องานกับราชการต่าง ๆ สามารถทำได้ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของแต่ละบ้าน ปล่อยให้การยืนเข้าแถวคอยในการติดต่องานกับข้าราชการซึ่งทำให้เสียเวลากลายเป็นอดีตไป
ด้วยความต้องการเช่นนี้ น่าจะเป็นจริงในอนาคตอันใกล้เนื่องจากมีโครงการใหญ่เกิดขึ้น 2 โครงการเพื่อพัฒนาอินเตอร์เน็ตยุคใหม่ คือโครงการ อินเตอร์เน็ต 2 (Internet2 หรือ I2) และโครงการ NGI (the Next Generation Internet)

โครงการอินเตอร์เน็ต 2 (www.internet2.com)ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาสหรัฐอเมริกา 120 มหาวิทยาลัยพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขั้นสูง University Corporation for Advanced Internet Development (UCAID) เพื่อสนับสนุนการศึกษาและการวิจัย. งานในการพัฒนาเครือข่ายนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น การใช้สเปคตรัมของแสงเดินทางผ่านเครือข่ายออพติคัล ในการส่งข้อมูลที่สำคัญไปในสื่อเดียวกับข้อมูลอื่น ๆ ด้วยความถี่ที่สูงและความเร็วของการส่งข้อมูลที่เร็วมากเท่ากับความเร็วแสง จึงทำให้มีการถูกรบกวนน้อยมาก โดยได้มีการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 2 นำร่อง ในการให้บริการข้อมูลระหว่างห้องสมุดระหว่างมหาวิทยาลัยเหล่านั้น แต่มีข้อเสียเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้นั้นหายากและราคาแพงเช่น จานดาวเทียม และอิเล็กโตรไมโครสโคป และทำให้รัฐบาลต้องลงทุนในการขุดเจาะวางสายเคเบิลใหม่

ส่วน โครงการ NGI ได้มีเป้าหมายในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาวิจัย พัฒนา และทดลองเทคโนโลยีเครือข่ายขั้นสูง ซึ่งมีความน่าเชื่อถื มีบริการหลากหลาย ความปลอดภัย และมีโปรแกรมการโต้ตอบแบบทันที (realtime) เช่นโปรแกรมการจัดการระยะไกล ระบบการทำงานแบบกระจายข้อมูลให้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องในระยะไกลช่วยกันคำนวณ และระบบความคุมการทดลองระยะไกล เป็นต้น เป้าหมายที่ 1 นี้รับผิดชอบโดย DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency )

เป้าหมายที่ 2 โครงการ NGI นำโดย องค์กร NFS (National Science Foundations) เพื่อสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตยุคใหม่ขึ้น โดยมีพื้นฐานจากโครงการ vBNS โดยคาดหวังว่าเป้าหมายที่ 1 ของโครงการจะบรรลุผลและสามารถเอาชนะข้อจำกัดด้านความเร็วที่มีในการใช้สิวิตซ์ เราเตอร์ เครือข่ายท้องถิ่น และเครื่องแม่ข่ายอย่างสถานีงาน (work station) ได้ สำหรับเป้าหมายที่ 2 เครือข่ายอินเตอร์เน็ตยุคใหม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยเชื่อมต่อมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และองค์กรร่วมอื่น ๆ รวมกว่า 100 แห่งเข้าด้วยกัน ด้วยความเร็วที่สูงกว่าอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันกว่า 100 เท่า